การบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยในเหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคทางกายหรือทางจิตเวชแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่ต้องการถอนพิษสุราในโรงพยาบาล หรือมีอาการถอนพิษสุรารุนแรง เพราะจำเป็นต้องได้รับการดูแลอาการถอนพิษสุราอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ ผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องหลังจากการถอนพิษสุรา หรือผู้ป่วยที่ไม่มีการสนับสนุนทางสังคมที่เพียงพอ
การบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก มักมีอยู่ทั่วไปตามโรงพยาบาล และศูนย์บำบัดฟื้นฟู การรักษาแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกที่จะเข้าบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน และต้องไม่มีโรคทางกายหรือทางจิตเวชร่วมด้วย นอกจากนี้โปรแกรมการรักษาแบบนี้ยังเปิดโอกาสให้ครอบครัวของผู้ป่วยสามารถอยู่ร่วมได้ในระหว่างการทำการบำบัด
โปรแกรมการบำบัดฟื้นฟูนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการพักอาศัยในสถานที่ซึ่งปลอดจากสุรา สถานบำบัดบางแห่งจะมีการจัดบริเวณสำหรับการฟื้นฟูในโปรแกรมนี้ การบำบัดในรูปแบบนี้ผู้ป่วยจะอาศัยอยู่สถานที่แห่งนี้ตลอดช่วงระยะเวลาของโประแกรมการบำบัด
กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นกลุ่มช่วยเหลือกันเอง โดยมีกระบวนให้เกิดการสร้างความหวัง และพลังใจให้กันและกัน  ซึ่งถือว่ากลุ่มเพื่อช่วยเพื่อนมีส่วนสำคัญมากในการป้องกันการกลับไปดื่ม สุราซ้ำ ในต่างประเทศได้รับความนิยมมาก เช่น สหรัฐอเมริกา
การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจนี้ สร้างขึ้นจากแนวคิดการมองโลกในแง่ดี และแนวคิดเชิงมนุษยนิยมของ Carl Rogers ที่กล่าวถึงความสามารถของมนุษย์ที่จะเลือกและเปลี่ยนแปลงความคิดของตนในกระบวนการการรับรู้และเข้าใจศักยภาพในตน (self-actualization)
การรักษาโดยการใช้ยาช่วย เป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดรักษาผู้ป่วยติดสุรา โดยเป็นกระบวนการทางเภสัชบำบัด ที่ได้ผสมผสานเอาการให้คำปรึกษาและการปรับพฤติกรรมเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งการรวมเข้ากันของเทคนิคการบำบัดเหล่านี้
ศุนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์ (Alcohol Helpline Center)
สำนักงาน ชั้น 1 ศูนย์จิตเวชศาสตร์การเสพติด กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
เลขที่ 315 ถ.ราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม.10400
ต้องการวิทยากรติดต่อ อ.ธวัชชัย กุศล 0879959501
โทรศัพท์ : 02-354-8360, มือถือ : , โทรสาร : 02-354-5190 อีเมล์ : info@1413.in.th, เว็บไซต์ www.1413.in.th