สุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง

อุบัติเหตุจราจรที่มีความรุนแรงและพบบ่อยในปัจจุบัน มักมีความเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา เนื่องจากการดื่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง คนที่อยู่ในสภาพมึนเมานั้น จะขาดสติและไม่สามารถบังคับตนเองได้ โดยสุราที่ดื่มจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ลดความไวของการรู้สึกและการสั่งการของสมอง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกันการมองเห็นผิดไป ไม่สามารถกะหรือกำหนดระยะทางได้ถูกต้อง และไม่สามารถตัดสินใจในเวลาอันรวดเร็วพอที่จะพาให้พ้นจากอุบัติเหตุได้

ความสัมพันธ์ของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจร มีดังนี้

ระดับแอลกอฮอล์

ในเลือด(ม.ก.%)

สมรรถภาพในการขับรถ

โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา

20

มีผลเพียงเล็กน้อยเฉพาะบางคน

ใกล้เคียงกับคนไม่ดื่มสุรา

50

ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 8

โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 2 เท่า

80

ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 12

โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 3 เท่า

100

ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 15

โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 6 เท่า

150

ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 33

โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 40 เท่า

มากกว่า 200

ลดลงเป็นสัดส่วนกับระดับแอลกอฮอล์ในเลือด

ไม่สามารถวัดได้เนื่องจากควบคุมการทดลองไม่ได้

 

พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2550 ในมาตรา 43(2) บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดขับขี่รถในขณะเมาสุราหรือเสพของมึนเมาอื่น และมาตรา 160 บัญญัติว่าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้น มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 ดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ โดยผู้ที่มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ จะถือว่าเป็นผู้ที่เมาแล้วขับขี่ 

 

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์ 

 

อ้างอิง 

พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522. (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.khiansapolice.com/e-learning/index.php?page=p2522

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2551). สุรากับอุบัติเหตุจราจร. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/4986

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). เพิ่มโทษเมาแล้วขับ. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/13140

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2553). สุราและการขับรถ. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/special_report/18814




ขออนุญาติรบกวนเวลาของท่าน
ทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ
ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า




สถานบำบัด

ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (1413 สายด่วนเลิกเหล้า) (ภายใต้คณะแพทยศาสตร์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ อาคารจุฬาพัฒน์ 14
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อประสานงาน
คุณ สุชาครีย์ พิบูลธรรมศักดิ์

โทรศัพท์ : 0830872879, มือถือ : , โทรสาร : อีเมล์ : 1413alcoholhelpcenter@gmail.com, เว็บไซต์ www.1413.in.th