สุรากับภาวะบกพร่องของลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็กคืออวัยวะที่เชื่อมต่อระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 20 ฟุต แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ดูโอดินัม (duodenum) เจจูนัม (jejunum) และไอเลียม (ileum) น้ำย่อยจากลำไส้เล็กจะช่วยย่อยอาหารที่มาจากกระเพาะอาหารให้เปลี่ยนเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด จนสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปสร้างเป็นพลังงานต่อไป

การทานอาหารที่มีโภชนาการต่ำ รวมถึงการดื่มสุรา จะทำให้เกิดความเสียหายกับลำไส้เล็ก กล่าวคือ ทำให้เกิดการขาดโฟเลต ส่งผลให้ผนังเซลล์เยื่อบุของลำไส้เล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้การดูดซึมน้ำ โซเดียม น้ำตาล กรดอะมิโนบางชนิด และกรดไขมันในลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมและไอเลียมเกิดขึ้นได้ไม่ดีนัก นอกจากนี้ ลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัมจะมีการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและไขมันลดลงอีกด้วย

การดื่มสุราอย่างหนักทำให้เยื่อบุผนังลำไส้เล็กเกิดการอักเสบและมีเลือดไหลได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่สุราไปทำความเสียหายโดยตรง หรือสุราอาจไปกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสารที่เป็นอันตรายต่อเยื่อบุลำไส้เล็ก เช่น ไซโตคิน ฮีสตามีน ลิวโคตริน เป็นต้น ซึ่งการเกิดบาดแผลเหล่านี้ที่ลำไส้เล็กมีผลทำให้สารพิษต่างๆสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและระบบน้ำเหลือง สร้างความเสียหายต่อไปสู่ตับและอวัยวะส่วนอื่นได้

 

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์ 

 

อ้างอิง 

Rennie, S. (2009). Small Intestine. Retrieved March 21, 2012, from http://www.alcoholanswers.org/alcohol-education/health-topics/alcohol-and-small-intestine.cfm

 

 




ขออนุญาติรบกวนเวลาของท่าน
ทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ
ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า




สถานบำบัด

ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (1413 สายด่วนเลิกเหล้า) (ภายใต้คณะแพทยศาสตร์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ อาคารจุฬาพัฒน์ 14
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อประสานงาน
คุณ สุชาครีย์ พิบูลธรรมศักดิ์

โทรศัพท์ : 0830872879, มือถือ : , โทรสาร : อีเมล์ : 1413alcoholhelpcenter@gmail.com, เว็บไซต์ www.1413.in.th