สุรากับโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ เป็นการอักเสบของข้อที่เกิดขึ้นเฉียบพลันทันทีทันใด อาการเป็นอยู่ประมาณ 5-10 วัน แล้วก็หายไป เป็นลักษณะเป็นๆหายๆและเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ป่วยบางรายอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรัง และโรคจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ข้อต่างๆเกิดความเสียหาย  มีอาการผิดรูปร่างไป และไม่สามารถใช้งานได้ ข้อที่อักเสบมักบวม แดง กดเจ็บ และปวดมากขึ้นเมื่อขยับข้อหรือลูบสัมผัสเพียงเบา ๆ อาการปวดมักรุนแรงฉับพลันทุกข์ทรมานจนเดินลำบาก เดินกระเผลก อาจมีไข้ต่ำๆ ในผู้ป่วยบางราย และส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์จะเป็นผู้ชายที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป 

โรคเก๊าท์เกิดจากการที่ระดับของกรดยูริกสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก  การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อทำให้เกิดการอักเสบขึ้น กรดยูริคเองเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ปีก ข้าวสาลี ยอดผัก เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, เซี่ยงจี้ เป็นต้น

การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากสุราไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย โดยการดื่มสุรา หรือการดื่มเบียร์เพียงวันละ 2-3 แก้ว ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าคนที่ไม่ดื่มเบียร์ถึง 2 เท่าครึ่ง และหากดื่มสุราวันละ 2-3 แก้ว จะเสี่ยงเป็นเป็นโรคเก๊าท์ มากกว่าคนที่ไม่ดื่มถึง 1.6 เท่าตัว โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีน (Guanosine) ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้มาก ดังนั้นการหยุดดื่ม หรือลดการดื่มสุราลง ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตวาย ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์ได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย โทรมาคุยกับเราได้ที่ สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์

 

อ้างอิง 

พิชัย แสงชาญชัย. (ม.ป.ป.). สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา (Alcohol Help Line) [เอกสารอัดสำเนา]. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

โรคเก๊าท์. (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.yourhealthyguide.com/article/aj-gout.htm

สุเมธ เถาหมอ. (2550). โรคเก๊าท์และการดูแลอาหารของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=109

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2549). ดื่มเหล้าเบียร์มากระวังโรคเก๊าท์ มะเร็งมาเยือน. ค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.ocpb.go.th/show_news.asp?id=278




ขออนุญาติรบกวนเวลาของท่าน
ทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ
ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า




สถานบำบัด

ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (1413 สายด่วนเลิกเหล้า) (ภายใต้คณะแพทยศาสตร์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ อาคารจุฬาพัฒน์ 14
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อประสานงาน
คุณ สุชาครีย์ พิบูลธรรมศักดิ์

โทรศัพท์ : 0830872879, มือถือ : , โทรสาร : อีเมล์ : 1413alcoholhelpcenter@gmail.com, เว็บไซต์ www.1413.in.th